Intellect Wisdom [ปรีชาญาณ]

ความคิดเห็น

  1. "ปรีชาญาณ" เป็นวิวัฒนาการของมนุษย์ที่ใช้ภาษาเป็นเครื่องมือถ่ายทอดความคิด จนสามารถส่งต่อความรู้จากคนรุ่นหนึ่งไปสู่คนอีกรุ่นหนึ่ง ช่วยให้คนรุ่นหลังต่อยอดความรู้เดิมเกิดเป็นอารยธรรม มีวัฒนธรรม ประเพณี ศิลปะ และการดำรงชีวิตที่ต่างไปจากยุคบรรพกาล ดังที่มีบอกไว้ในตำราถึงสังคมที่ราบลุ่มแม่น้ำต่างๆของโลก ได้ชื่อว่าเป็นแหล่งอารยะธรรมโบราณที่มีอยู่จริง หากมนุษย์ไม่มี "ปรีชาญาณ" เสียแล้ว เราคงไม่ได้เห็นความแตกต่างของมนุษย์กับสัตว์อย่างทุกวันนี้

    ตอบลบ
  2. ย้อนไปเมื่อครั้งยุคบรรพกาลที่ยังไม่มีอารยธรรมใดเกิดขึ้นบนโลกนี้ มนุษย์ยังไม่รู้จักเพาะปลูกทำการเกษตร ดำรงชีวิตด้วยการล่าสัตว์และเก็บพืชผักผลไม้จากป่าเป็นอาหาร แม้จะสื่อสารกันด้วยภาษาพูดง่ายๆไม่ซับซ้อน แต่ก็ยังไม่มีตัวอักษรเป็นภาษาเขียน ในบางครั้งใช้มือส่งสัญญาณบอกกันในขณะล่าสัตว์ มีการทำเครื่องหมายตามต้นไม้บอกคนที่ตามทีหลัง ดังนั้นการเรียนรู้สิ่งต่างๆอาศัยจำต่อๆกันอยู่ในกลุ่มเล็กๆ ไม่มีการบันทึกใดๆไว้ให้คนรุ่นหลัง

    การอยู่ร่วมกันแบบพึ่งพาอาศัยกัน แบ่งปันกันโดยไม่สะสมเป็นของใครของมัน ย้ายถิ่นฐานไปเรื่อยตามแต่ความอุดมสมบูรณ์ของฤดูกาล จนพบที่ราบลุ่มแม่น้ำอันมีพืชพรรณและสัตว์อาศัยอยู่มาก จึงเกิดการสร้างบ้านเรือนปักหลักเป็นชุมชน มีการเก็บสะสมอาหารไว้ในฤดูที่ขาดแคลนหรือเผชิญภัยธรรมชาติจะได้ไม่อดอยาก รวมทั้งการเลี้ยงสัตว์ การเพาะปลูก ก็ทำกันมากขึ้น ได้ประดิษฐ์เครื่องมือทำมาหากินใช้ มีการจดบันทึกด้วยสัญลักษณ์ให้รู้ถึงจำนวนของสิ่งที่มีแต่ละอย่าง

    จาการสะสมอาหารที่จัดสรรปันส่วนกันในสังคมส่วนรวม ได้มีการสะสมเฉพาะครอบครัวแยกต่างหากตามมา เกิดการแบ่งแยกเป็นของเราของเขา เป็นพวกเราพวกเขา พวกที่ห่างไกลที่ราบลุ่มแม่น้ำ เป็นพวกอื่นที่มีชีวิตยากลำบาก เคยช่วยเหลือแบ่งปันในยามมีพอเหลือเฟือ จนบางครั้งภัยพิบัติทำให้สูญเสียสิ่งที่สะสม ก็ยังเอื้ออาทรไม่ปล้นชิงกัน นับเป็นยุคที่มนุษย์มีความเห็นแก่ตัวไม่มาก มีความซื่อสัตว์จริงใจต่อกัน ผู้นำหมู่บ้านแต่ละแห่งมีคุณธรรมเป็นที่ยอมรับ

    เมื่อ "ปรีชาญาณ" ของมนุษย์พัฒนาภาษาพูดเป็นภาษาเขียนได้ดีขึ้น คนรุ่นต่อมาจึงได้ประโยชน์จากสิ่งที่บันทึกไว้ ได้ทำมาค้าขายแลกเปลี่ยนสินค้ากับพวกต่างถิ่น กับพวกเลี้ยงสัตว์เร่ร่อน ต่างถือครองเก็บเอาสิ่งที่จำเป็นไว้เพื่อพวกพ้อง เมื่อสังคมมีขนาดใหญ่ขึ้น ปัญหาก็มากขึ้น ความเห็นแก่ตัวของบางคนก็มีขึ้น เพราะเรื่องราวในหัวนั้นซับซ้อนขึ้น มีเลห์เหลี่ยมที่ผ่านความคิด โลกภายในของแต่ละคนจึงไม่ได้คำนึงถึงส่วนรวมล้วนๆอย่างสังคมในอดีต

    By พุทธ เถรวาท

    ตอบลบ
  3. "บริบท"เป็นเรื่องสำคัญที่หลายคนมองข้ามไปเสมอ เมื่อเอาเรื่องราวในอดีตทางประวัติศาสตร์หรือพระสูตรในพระไตรปิฏกมาตีความ เอาความคิดความเข้าใจของคนยุคใหม่ไปสวมทับ แทนบุคคลในเหตุการณ์ซึ่งมี"โลกทัศน์"แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง กล่าวคือคนสมัยก่อนที่จะมีไฟฟ้าใช้ ยังไม่มีอุปกรณ์อิเลคทรอนิคส์ใดๆ ยังไม่เข้าใจโลกในแบบที่วิทยาศาสตร์อธิบายได้ หรือแม้แต่พระพุทธเจ้าผู้เป็น"สัพพัญญู" ก็ไม่อาจใช้พัดลมมาเปิดเพื่ออธิบายว่า ลมไม่ได้เกิดจากเทพเจ้าบันดาล พระพายในเรื่องรามเกียรติ์ไม่มีตัวตนอย่างที่เชื่อกัน

    [พระพาย (เทวนาครี: वायु; "วายุ") เป็นเทพแห่งลมตามคติศาสนาฮินดู เป็นเทพแห่งธรรมชาติ เช่นเดียวกับพระพิรุณ (ฝน), พระอัคนี (ไฟ), พระแม่คงคา (น้ำ), พระแม่ธรณี (พื้นดิน)]

    การที่พระพุทธเจ้าไม่รู้จักไฟฟ้า ไม่สามารถสร้างพัดลมหรือประดิษฐ์แอร์ใช้ จะโมเมว่าพระองค์ไม่ได้รอบรู้สรรพสิ่งไม่ใช่สัพพัญญูนั้น เป็นความเขลาชนิดซื่อบื้อ คิดอะไรตื้นๆจากความจริงที่อยู่ปลายทาง จาก"บริบท"ซึ่งไม่เหมือนกัน ด้วย"โลกทัศน์"คนละยุค ยกตัวอย่างเช่นช่างประกอบแอร์ในโรงงานกับมนุษย์คนแรกที่สร้างแอร์ได้ มีปัญญาที่ต่างกันคนระดับ ช่างที่ประกอบโทรศัพท์กับสตีฟจอบส์ มี ปัญญาที่ต่างกันดั่งฟ้ากับเหว แล้วสตีฟจอบส์มีปัญญาเหนือกว่าพระพุทธเจ้าเพราะประดิษฐ์โทรศัพท์มือถือได้อย่างนั้นหรือ?

    สัญญาณโทรศัพท์ไร้สายกับพระพายต่างกันอย่างไร? ถ้าเราย้อนเวลาได้ เราจะอธิบายให้คนสมัยพุทธกาลรู้จักสัญญาณโทรศัพท์ไร้สายได้หรือ เขาฟังไปฟังมาก็สรุปเอาว่าสัญญาณโทรศัพท์ไร้สาย มันมีตัวตนแบบเดียวกับพระพาย ไม่ต่างกับวิญญาณที่ไม่สามารถเห็นด้วยตา เป็นตัวตนตามความเชื่อของ"ลัทธิปรัชญาจิตนิยม"ที่มีมาแต่โบราณ การที่พระพุทธเจ้าประจักษ์แจ้งว่าไม่มีจิตหรือวิญญาณอมตะ ไม่มีเทพเจ้า หรือพระเจ้าผู้อยู่เบื้องหลังปรากฏการณ์ พระองค์ไม่ได้นั่งหลับตาจินตนาการ คิดเอาด้วยสมองอย่างที่หลายคนเข้าใจ

    ญาณสัพพัญญูของพระพุทธเจ้า และญาณทัสสนะของพระอรหันต์ คือปัญญาญาณ(intuition)อันประจักษ์รู้โดยจิต ไม่ใช่ปรีชาญาณ(intellect)ซึ่งใช้ภาษาเรียนรู้ และไม่ใช่สัณชาตญาณ(instinct)ที่รู้โดยไม่ต้องมีประสบการณ์ ดังนั้นการจะฟันธงว่าใครไม่รู้จัก"ลมจากพัดลม" ไม่รู้จัก"ลมจากเครื่องแอร์"ได้นั้น บ้านของคุณต้องมีพัดลม มีแอร์เสียก่อน ถ้าคุณเข้าใจผิดว่าปรีชาญาณ(intellect)คือปัญญาญาณ(intuition)เสียแล้ว จะรู้จัก ญาณสัพพัญญูของพระพุทธเจ้า และญาณทัสสนะของพระอรหันต์ได้อย่างไรเล่า

    "ปัญญาความรู้"จากตำราที่แยกเป็นศาสตร์ต่างๆ เรียนรู้โดยปรีชาญาณ(intellect)มันเป็นของมือสอง คุณไม่เคยประจักษ์ของจริงแต่เชื่อโดยตรรกะ โดยใช้สมอง มันเป็นคนละอันกับการรู้ด้วยจิต รู้ด้วย"วิปัสสนาญาณ" การอ่านจนรอบรู้แบบปริยัติไม่เกิดปฏิเวธ กับการภาวนาจนรู้แจ้งเห็นจริงโดยปฏิบัติจนเกิดมรรคผล เป็นปัญญาคนละระดับที่ต่างกันดั่งฟ้ากับเหว เหมือนช่างประกอบโทรศัพท์กับสตีฟจอบ เปรียบเทียบความสามารถแล้วมันห่างไกลกันมากๆ แม้แต่ท่านพุทธทาสผู้ปราดเปรื่องยังผิดพลาดได้ นับประสาอะไรกับลูกศิษย์หรือเด็กเมื่อวานซืน บังอาจยกตนเสมอพระพุทธเจ้า

    BY อาทร ปัตย์จติการ

    ตอบลบ
  4. #คิดดีก็ใจเย็น (ญาณวิปปยุตตัง)
    #คิดไม่เป็นจะเย็นสบาย (ญาณสัมปยุตตัง)

    อัตตโนภาษิต (ปรัชญาร้อยกรอง)
    ของหลวงพ่อเกษม เขมโก (14 มกราคม 2533)
    1. การเห็น (ด้วยญาณปัญญา)
    เป็นเหตุแห่งการคิด (ด้วยปรีชาญาณ)
    2. การคิด (ด้วยปรีชาญาณ)
    เป็นเหตุแห่งการเห็น (ด้วยญาณปัญญา)
    3. ถ้าคิดดี (เพราะยังมีตัวตน)
    ก็เป็นทางเย็น (ได้เจโตวิมุตติ)
    4. คิดไม่เป็น (เพราะไม่มีตัวตน)
    ก็เย็นสบาย ฯ (ได้ปัญญาวิมุตติ)

    ขอบคุณท่าน TRUTH or LIES
    จำแนกแจกแจงเป็นกามาวจรโสภณจิตได้ 24 ดวง
    ก. มหากุศลจิต 8 ดวง
    ข. มหาวิบากจิต 8 ดวง
    ค. มหากิริยาจิต 8 ดวง
    มหากิริยาจิตนี้เป็นจิตของพระอรหันต์ สิ้นกิเลสโดยสิ้นเชิงแล้ว การทำ การพูด การคิด เหล่านั้น หาได้ก่อให้เกิดผลในอนาคตต่อไป ฉะนั้นการทำ การพูด การคิดจึงเป็นแต่เพียงสักแต่ว่า จึงใช้ว่า “กิริยาจิต”

    ยอดยุทธผู้ถึงยอดเขาแล้วย่อมเห็นได้กว้างไกล ย่อมไม่ยึดถือว่านั่นดีหรือนี่ชั่วแต่อย่างใด เพราะบทเรียนจากคนชั่วสอนได้ถึงจิตถึงใจกว่าคำสอนปรมาจารย์เจ้าสำนัก สิ่งที่ครูบาอาจารย์ใช้สอนใครก็ได้ผลกับคนนั้นเฉพาะเวลานั้น แม้คนนั้นจะเอาคำสอนประโยคเดียวกันไปสอนต่อก็ใช่จะได้ประโยชน์ดุจเดียวกัน ท่านจึงเน้นเสมอว่าหลักการอันเป็นแก่นไม่ให้ทิ้ง ถ้าจับหลักไม่ได้ก็จะไปยึดเอาคำสอนหนึ่งมาหักล้างอีกคำสอนหนึ่งของท่านเอง ถ้าปัญญารู้แจ้งถึงแก่นแท้สามารถใช้ทุกอย่างเป็นบทเรียนได้หมด แม้จะขวางโลกหรือขัดกับสามัญสำนึกของลูกศิษย์ก็ตาม

    ในสถานการณ์เดียวกันมีสิ่งที่มากระทบผัสสะนั้น จิตของแต่ละคนมีคุณภาพแตกต่างกัน แต่ละคนมีกรรมในอดีตอันทำให้ผลแห่งวิบากแตกต่างกัน แต่ละคนจึงมีน้ำหนักไปทางอกุศลหรือทางกุศลมากน้อยไม่เท่ากัน แม้รูปธรรมหรือนามธรรมที่จรมานั้นเหมือนกันเป๊ะ แต่จิตใจคนแปรเปลี่ยนไปไม่เหมือนกัน ถ้าไม่รู้เท่าทันความรู้สึกและความคิดย่อมถูกมันครอบงำ คำสอนใดๆก็ถูกยกมาใช้อย่างผิดๆ บ่งบอกว่าจิตนั้นเจือด้วยสิ่งอื่นไม่มากก็น้อย จนลืมว่าธรรมะนั้นจัดสรรทุกสิ่งทุกอย่างได้ถูกที่ถูกเวลาเสมอ แม้แต่ความเลวทรามชั่วช้าก็จัดสรรมาเพื่อสอนใจ ใช่ว่ามุ่งหมายทำให้นักปฎิบัติเสียคน

    หากปักใจว่าเราเป็นผู้มีหน้าที่จึงต้องจัดการอะไร แสดงว่าเรามีตัวตนแต่ไม่เห็นตัวตน ถูกความคิดว่าหลุดพ้นตัวตนมันครอบงำ ไม่เพราะหลงว่าตนเหนือกว่า ย่อมไม่เจ้ากี้เจ้าการต่อสิ่งที่มากระทบ เมื่อส่งจิตออกไปแล้วลืมหลักการอันเป็นแก่นของครูบาอาจารย์ ไม่มีความเป็นกลาง จึงอยากให้อะไรมันดี อยากเปลี่ยนอะไรที่มันไม่ดี คำพูดและการกระทำอันมาจากความคิดมันสะท้อนจิตในขณะนั้น แต่กลับไม่เห็นมันตามความเป็นจริง บางครั้งครูบาอาจารย์ที่ท่านหยั่งรู้เลยใช้ให้คนมาลองดี เล่นงานให้ได้สติ ได้ปัญญาแหลมคม มีความแยบคายขึ้น

    ขอบคุณท่าน TRUTH or LIES

    ตอบลบ

แสดงความคิดเห็น