Comment [ความคิดเห็น]

ความคิดเห็น

  1. ผมรู้ดีว่าคำสอนเรื่องตัวตนของฮินดูกับพุทธนั้นไม่เหมือนกันครับ การมาแสดงความเห็นครั้งนี้มิได้ต้องการชี้ว่าของใครผิดหรือถูกนะครับ แต่เป็นการบอกเล่าให้คนที่ยังไม่เข้าใจได้เข้าใจถึงความต่างกัน ป้องกันการสับสนที่จะเกิดกับบางคนต่อไปในวันหน้า ดังเช่นชาวตะวันตกเกือบทั้งหมดที่ไม่สามารถแยกความต่างระหว่างฮินดูกับพุทธได้ อีกทั้งคนไทยที่นับถือพุทธส่วนใหญ่ก็มีความเชื่อปะปนกับความเชื่อฮินดู หรือไม่ได้ตระหนักว่าเมื่อครั้งหลังพุทธกาลนั้น คำสอนของพระพุทธเจ้าถูกนำมาช่วยแก้ไขคำสอนพราหมณ์แล้วเปลี่ยนเป็นศาสนาฮินดู จนกระทั่งกลืนศาสนาพุทธหมดไปจากอินเดียในเวลาต่อมา

    คำว่าโอปะปาติกะในศาสนาพุทธใช้เรียกการเกิดขึ้นของตัวตนภายใน คือการอุบัติขึ้นของความเป็นเราในโลกความคิด สามารถแจกแจงที่มาที่ไปได้ด้วยการอุปมาอุปมัยเป็น เปรต อสุรกาย สัตว์นรก เดรัจฉาน มนุษย์ เทวดา เทพ พรหม การดูละครที่แสดงนั้นผู้แสดงได้ใช้ตัวตนภายในนี้สวมบทบาทสมมุติตามบทประพันธ์ ซึ่งในชีวิตจริงเราก็ใช้ตัวตนภายในนี้สวมบทบาทเป็นพ่อเป็นแม่ เป็นผัวเป็นเมีย เป็นมิตรเป็นศัตรู เป็นนั่นเป็นนี่สารพัดไม่ผิดกับที่อุปมาอุปมัยไว้ ในแต่ละวันตัวตนนี้ขึ้นสวรรค์ลงนรกกันภายในกายภายในใจทั้งๆที่ยังไม่ตาย ตัวตนที่มันเกิดแล้วตายอยู่ภายในคือคำสอนของศาสนาพุทธเรา หวังว่าผู้อ่านจะแยกแยะไม่อิงความเชื่ออันปะปนกับของเขา

    ขอเพิ่มเติมไปถึงคนในปัจจุบันนี้ด้วยครับ การเกิดขึ้นของตัวตนภายในมันมีที่มาที่ไปอย่างไร ทำให้เราแสดงบทบาทในชีวิตอย่างไร พระพุทธเจ้าท่านทรงอธิบายด้วยหลักปฏิจจสมุปปบาท ผู้ใดเห็นปฏิจจสมุปบาทผู้นั้นเห็นธรรม ผู้ใดเห็นธรรมผู้นั้นเห็นเราตถาคต ผู้เห็นธรรมนั้นเห็นตัวตนภายในที่อุบัติขึ้น เกิดขึ้นอย่างที่เรียกว่าโอปะปาติกะ นิพพานคือตถาคตไม่เกิดเป็นอะไรแล้ว ทั้ง เปรต อสุรกาย สัตว์นรก เดรัจฉาน มนุษย์ เทวดา เทพ พรหมในขณะยังมีชีวิต มีธาตุมีขันธ์ครบถ้วน เป็นคำอธิบายที่ต่างจากความเชื่อของชาวพุทธส่วนใหญ่หรือนิกายอื่นสอนกัน การไม่เอาไตรสิกขา ไม่เรียนรู้อริยสัจให้แจ่มแจ้งย่อมคิดเอาเองจนหลงตัวตน อวดเก่งเกินพระพุทธเจ้าจึงมีให้เห็น

    เมื่อบอกว่าการเกิดตัวตนเช่นนี้เกี่ยวข้องด้วยสัญญาที่ปรุงแต่งความคิดทำให้เป็นทุกข์ พาลสอนว่าการดับความคิดคือการดับความทุกข์นั้นคือความเขลาเบาปัญญา เพราะพระพุทธเจ้าไม่ได้สอนให้มักง่ายอย่างนี้ มันทำที่สุดแห่งทุกข์ไม่ได้จริง อุบายทั้งหลายที่ครูบาอาจารย์สอนให้พ้นจากความคิดเพื่อจะได้เข้าถึงความเป็นกลาง เพื่อใช้เป็นจุดเริ่มต้นในการเรียนรู้กายใจอย่างที่มันเป็น เพื่อใช้เจริญสติปัฏฐานด้วยสมาธิภาวนา แล้วจะได้มีญาณทัสสนะเห็นธรรมตามที่พระพุทธเจ้าสอน นำไปสู่อริยมรรครู้แจ้งหลุดพ้นความยึดมั่นตามลำดับ ไม่ใช่เลิกคิดแล้วหลุดพ้นจบกิจหมดสงสัยได้นิพพาน สอนให้เข้าใจแบบตื้นๆ พาคนหลงผิดโดยไม่เฉลียวใจ

    ความคิดเปรียบดังกระแสลมที่โหมพัดไฟให้ลุกโชน ความคิดอาจทำให้ความทุกข์เพิ่มทวีขึ้นและลดลงเมื่อลืมคิด แต่การดับความคิดไม่ใช่ดับความทุกข์ ไม่ใช่การดับไฟจนสนิทอย่างแท้จริงครับ

    การถือเอาฉันคือตัวตนที่พ้นสภาพบุคคลเป็นหนึ่งเดียวกับสรรพสิ่งนั้นขัดกับอนัตตา ตถาคตเป็นเพียงสรรพนามที่ใช้แทนผู้พูด แต่ไม่ได้หมายความว่า ตายแล้วยังมีตถาคตกลับไปสู่พรหมัน สิ่งที่ว่านี้จะมีอยู่หรือไม่มีหลังเราตายมันไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา มันไม่มีตัวตนใดๆเป็นเราตามที่ฮินดูสอน ส่วนใครจะเข้าใจแบบมหายานก็มีสิทธิ์ตีความได้ แต่สำหรับพุทธเถรวาทไม่ได้สอนแบบเขา

    ผมไม่ได้ห้ามใครเชื่อตามเขา หรือตำหนิการนับถือศาสนาอื่นร่วมด้วย แค่ชี้แจงตรงนี้ว่ามันต่างกันนะ อย่าได้สับสนครับ

    BY ใคร? เป็นใครไม่รู้

    ตอบลบ
  2. การแปล"อนัตตา"ว่าไม่มีเราคือการปฏิเสธ"ผู้รู้ผู้ตื่นผู้เบิกบาน"ด้วยความเขลา

    By ญาติธรรม

    ตอบลบ

แสดงความคิดเห็น